กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กได้โพสต์คลิปวิดีโอพร้อมข้อความร

วันนี้ ( 3 พ.ค.2568) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผย รายงานอัปเดตแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับเดือนเม.ย.2025 โดยได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยปี 2568 เหลือเพียง 1.6% จากเดิมที่เพิ่งจะปรั

วันนี้ ( 3 พ.ค.2568) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผย รายงานอัปเดตแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับเดือนเม.ย.2025 โดยได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยปี 2568 เหลือเพียง 1.6% จากเดิมที่เพิ่งจะปรับขึ้นคาดการณ์จีดีพีของไทยไปอยู่ที่ 2.9% ในรายงานอัพเดตฉบับเดือนม.ค.2568 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างประเทศและความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการลงทุน ที่ยังมีความไม่แน่นอนในระดับสูงและความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในระดับสูงด้วยเช่นกัน การปรับลดประมาณการจีดีพีของไทยในครั้งนี้ ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ไม่รวมสิงคโปร์ และบรูไน ขณะที่ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็เพิ่งปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือ 1.8% และปี2569เหลือ 1.6% สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จะลดลงมาอยู่ที่ 4.0% จาก 5.0% โดยคาดการณ์ GDP ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก นอกจากนี้ การส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดทางการค้า ในขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลต่ออุปสงค์ภายนอกประเทศยังคงลดลงต่อไป นาย มานูเอลา วี. เฟอโร รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า ทางรอดท่ามกลางโลกที่ผันผวน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยังมีโอกาสที่จะรักษาแนวโน้มทางเศรษฐกิจของตนเองให้แข็งแกร่งขึ้นได้ โดยการลงทุนและรับเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ผ่านการปฏิรูปอย่างจริงจัง และสร้างความร่วมมือระดับสากลในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว อาจปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเติบโตในภาพรวม และอีกส่วนขึ้นอยู่กับนโยบายในการตอบสนองต่อความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกของแต่ละประเทศ ขณะที่อัตราความยากจนในภูมิภาคนี้ จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องคาดว่าในช่วงปี 2567-2568 ประชากรราว 24 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จะหลุดพ้นจากความยากจนได้ อ้างอิงตามเส้นแบ่งความยากจนของผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง (ระดับความยากจนสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ที่ 6.85 เหรียญสหรัฐต่อวัน) ทั้งนี้ธนาคารโลก เสนอ 3 แนวทางเพื่อตอบสนองเชิงนโยบาย คือ 1. การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสามารถกระตุ้นผลิตภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการสร้างงานที่เพิ่มขึ้นมาใช้ ดังที่ประเทศมาเลเซีย และไทยได้ดำเนินการไว้ ,2. การปฏิรูปเพื่อยกระดับการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านการบริการ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ดังที่เห็นได้จากกรณีของประเทศเวียดนาม และ3. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมความแกร่งทางเศรษฐกิจได้ ขณะที่ ศูนย์วิจัยกรุงไทย ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ลงเหลือ 2.0% ในกรณีที่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง และอาจลดลงเหลือ 0.7% ในกรณีที่ได้รับผลกระทบรุนแรง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.7% ศูนย์วิจัยกรุงไทย วิเคราะห์ว่า ผลกระทบที่ต้องเร่งรับมือทั้งระยะยาวในรูปแบบของ “แผลเป็นทางเศรษฐกิจ” ที่ทำให้ไทยสูญหวย ลาว วัน นี้ ครับเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้า มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท และ ผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ไทย กว่า 4,990 ราย ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่ส่งออกสินค้ายานยนต์ยานยนต์และชิ้นส่วน เหล็ก อลูมิเนียม และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ ตามรายงาน IMF's World Economic Outlook (WEO) เดือนเม.ย.2568 IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2568 ลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนและประเทศอื่นๆ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการการค้าโลกและสร้างความไม่แน่นอนในตลาดการเงิน ข้อมูลล่าสุด IMF ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจาก 3.3% เหลือ 2.8% ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับลดจาก 2.7% เหลือ 1.8% โดย IMF ระบุว่าโอกาสที่สหรัฐฯ จะเกิดภาวะถดถอยในปี 2568 อยู่ที่ 37% และโอกาสที่ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะต่ำกว่า 2% มีถึงเกือบ 30% ซึ่งสูงขึ้นจากการประเมินก่อนหน้า ด้านยูโรโซนปรับลดจาก 1.0% เหลือ 0.8% ญี่ปุ่นปรับลดจาก 1.1% เหลือ 0.6% และจีนปรับลดจาก 4.6% เหลือ 4.0% ส่วนประเทศไทยนั้น IMF ได้ปรับลดจาก 2.9% เหลือ 1.8% นอกจากนี้ ปริมาณการค้าโลกยังถูกปรับลดจาก 4.2% เหลือ 1.7% ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของสงครามการค้าที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกรุงไทย ประเมินผลกระทบจากสงครามการค้าต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ออกเป็น 2 สถานการณ์ คือ Scenario 1 ไทยถูกเก็บภาษี 10% (universal tariff) ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 หลังจากที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีเต็มรูปแบบออกไป 90 วัน โดยในช่วงครึ่งปีหลังการเจรจากับสหรัฐฯ ประสบผลสำเร็จทำให้ภาษีลดเหลือเพียง universal tariff ที่ 10% จาก 36% ที่มีการรวม reciprocal tariff ขณะที่ Sectoral tariff จะถูกเก็บในสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มเหล็ก ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ได้รับการยกเว้นในสถานการณ์นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.0% ลดลงจากการประมาณการเดิมที่ 2.7% และ Scenario 2 (S2) ไทยถูกเก็บภาษี 10% (universal tariff) ในช่วง ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 และในช่วงครึ่งปีหลังได้รับผลกระทบเต็มรูปแบบจากการขึ้นภาษี reciprocal tariff ที่ 36% นอกจากนี้ Sectoral tariff จะถูกเก็บในสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มเหล็ก ตั้งแต่ไตรมาส 2 โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์จะได้ถูกจัดเก็บตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3ในสถานการณ์นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 0.7% ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการประเมินสถานการณ์ข้างต้น สอดคล้องกับมุมมองของ กนง. ที่คาดว่าเศรษฐกิจระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงสูงขึ้น จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 1.75% โดยคาดกรณีผลกระทบปานกลาง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.0% ขณะที่กรณีผลกระทบรุนแรง เศรษฐกิจอาจขยายได้ 1.3% นอกจากผลกระทบเฉพาะหน้าที่สำคัญ อาทิ การส่งออกจากภาระภาษีที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และการลงทุนที่จะต่ำกว่าที่คาดไว้เนื่องจากธุรกิจเลื่อนการลงทุนเพื่อรอประเมินสถานการณ์ โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐแล้ว ยังมีผลกระทบระยะถัดไปที่ต้องเตรียมรับมือ อ่านข่าว: ฤาจะถึงคราเสน่ห์ "เที่ยวไทย" สิ้นมนต์ขลัง ในสายตานักท่องเที่ยวจีน สหรัฐฯ คงบัญชี WL ไทย ห่วงแอบถ่าย แอบอ้างสิทธิ์จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ สศค. หั่น GDP ไทย โต 2.1% ปัจจัยเสี่ยงภาษีทรัมป์-เศรษฐกิจโลกชะลอ

คลิปวิดีโอการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ป่าสาธารณะ ใกล้กับสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งใน ต.ดินดำ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด เป็นหลักฐานที่เครือข่ายภาคประชาชน ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน และขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามก