“มาห์ซา อามินี” หญิงสาวชาวอิหร่านวัย 22 ปี เธอและครอบครัวเดินทางมาที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเยี่ยมญาติ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2565 จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ปอยผมเล็กๆได้หลุดออกจาก “ฮิญาบ” หล่นลงมา

วันนีท รู พรีเมียร์ hd1้ (16 พ.ค.2565) ไทยพีบีเอส จัดมหกรรม “ปลุกกรุงเทพฯ เปลี่ยนเมืองใหญ่ เลือกตั้งผู้ว่าฯ 65” ด้วยการประชันวิสัยทัศน์ ของผู้สมัครชิงตำแหน่ง "ผู้ว่าฯ กทม.” มีผู้สมัครผู้ว่าฯ เข้าร่วม 5 คน คือ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครหมายเลข 1 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครหมายเลข 3 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 4 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครหมายเลข 7 น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครหมายเลข 11 หนึ่งในการดีเบตครั้งนี้มีคำถามจากผู้ชมออนไลน์ซึ่งเป็นแคมเปญ "ปลุกกรุงเทพฯ" ขอปัญหาของคนกรุงด้วย 1 คำ ซึ่งผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ก็ได้ตอบคำถามจากประชาชนด้วย "คีเวิร์ด" เหล่านี้ "น.ส.รสนา โตสิตระกูล" ผู้สมัครหมายเลข 7 ตอบคำถามเรื่อง "ความปลอดภัย" ของกลุ่ม เบบี้บูมเมอร์ หรือ ผู้สูงวัยจะเป็นเรื่องการเดินทางบนท้องถนน ต้องยอมรับว่า ถนนในเมืองไทยมีปัญหามาก และไม่ใช้เป็นปัญหาเฉพาะคนสูงวัย แต่รวมไปถึงคนพิการ กลุ่มคนเปราะบางต่าง ๆ คนเจ็บป่วย คนตั้งครรภ์ แล้วเมื่อสูงอายุแล้ว เราจะอยู่ในเมืองนี้ได้อย่างสงบสุขได้ไหม จะได้รับการดูแลมากน้อยแค่ไหน เวลาเจ็บป่วยจะไปหาหมอได้ไหม ไม่มีเงินไม่มีหลักประกัน เขาจะปลอดภัยที่จะอยู่ได้หรือไม่ น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครหมายเลข 11 ระบุว่า กทม.มีรถมาก ถนนมีเท่าเดิม ผังเมืองไม่ได้เตรียมไว้ รถปัจจุบันถ้าเอามาวางก็ซ้อนไม่รู้กี่ชั้น การแก้ปัญหารถติดในเมืองใหญ่ ๆ ไม่มีใครทำเหมือนประเทศไทย การแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือการดึงคนออกจากรถ เมื่อคนออกจากรถ รถจะออกจากถนนเอง ขณะนี้รถไฟฟ้าไม่เพียงพอ มีคนกรุงเทพฯ ขึ้นรถไฟฟ้าเพียง 600,000 คน แต่ กทม.ต้องแก้ด้วยการทำให้คนขึ้นรถไฟฟ้าให้ได้ 3-4 ล้านคน จึงจะบรรเทารถบนถนนได้ และต้องไม่คิดค่าตอบแทนเป็นเงิน กทม.ต้องดูแลเมืองหลวงแห่งนี้ให้ได้ นายวิโรจน์กล่าวว่า การพัฒนาเมืองเป็นจุดให้คนโตใหญ่สูบผลประโยชน์ของการพัฒนาไปทั้งหมด ตั้งคำถามการพัฒนาระบบราง ว่า หากผู้โดยสารได้ประโยชน์นั้นค่าตั๋วต้องถูกกว่านี้ แต่ผลประโยชน์ตกอยู่กับนายทุนที่กว้านซื้อที่ดิน ยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีสุดท้ายควรเป็นมีนบุรีหรือไม่ เพื่อเชื่อมต่อสายสีชมพู เหตุใดงอกมา 800 เมตร เป็นสถานีแยกร่มเกล้า หากตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศจะพบว่า มีที่ดินอีก 300 ไร่ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์กับชุมชน ที่ผ่านมาไม่เคยผลักดันจัดเก็บภาษี จากคนที่ได้ลาภลอยผ่านสภาฯ เพื่อเก็บภาษีคนกลุ่มนี้ไปแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชน ผู้ดำเนินรายการถามนายสกลธีว่า ในแต่ละวันผู้ว่าฯ กทม.ทำอะไรบ้าง นายสกลธีกล่าวว่า สไลต์การทำงานตัวเอง จะไม่ชอบประชุมที่ศาลาว่ากลาง แต่ชอบไปลุยที่เขตไปฟังประชาชนไปกับขาราชการที่เขต เพื่อแก้ปัญหา ผู้ดำเนินรายการถามว่า ผู้ว่าฯ กทม. สั่งงานได้หรือไม่ นายสกลธีกล่าวว่า ผู้ว่าฯ สั่งเพราะโยกย้ายได้ แต่ถ้ารองผู้ว่าฯ เขาอาจจะไม่ฟัง ส่วนคำถามจากออนไลน์ "ปลุกกรุงเทพฯ" เรื่อง จะทำให้คุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯดีขึ้นอย่างไร นายสุชัชวีร์กล่าวว่า คิดแบบเดิม ทำแบบเก่าจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ผมบอกว่าแค่ปัญหาเรื่องอากาศก็เป็นปัญหาวิกฤตแล้ว ตอนนี้สามารถแก้ไขได้เลย โดยกรุงเทพฯจะต้องมีเครื่องวัดฝุ่นอย่างน้อย 2,000 จุด และรายงานให้ทราบเลยว่า จุดใดเป็นต้นตอ ผู้ว่าฯ จะได้ลงไปแก้ไขปัญหาถึงต้นตอ และจะประเมินลงไปในระดับเขตได้ ซึ่งต้องมีเครือข่ายเทคโนโลยี โดยมีอินเทอร์เนตฟรี มีเครือข่ายไวไฟ เพื่อช่วยให้ กทม.จัดการปัญหาเหล่านี้ได้ และโรงพยาบาล 80 แห่ง ที่จะเกิดขึ้น คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 4 ปี

วันนี้ (8 พ.ย.2566) นายวุฒิสาร ตันไชย ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า กระทรวงเก

นิยายชีวิต โดย : Ifaldi Musyadat
เรื่องและภาพโดย : Ifaldi Musyadat
[[คลิก]] อ่านเรื่องราว “นิยายชีวิต” ได้ที่นี่..