วันนี้ (4 ธ.ค.2567) นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคประชา
22 กรกฎาคม 2025 - 19:46
วันนี้ (1 พ.ค.2566) น.ส.ชุติมา กุมาร โฆษกพรรคเพื่อ
22 กรกฎาคม 2025 - 19:46

วันที่ 17 ก.พ.2564 ศูนย์ปฏิบัติการ COVID-19 จังหวัดนนทบุรี รายงานว่า จ.นนทบุรี พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่ม 1 คน ผู้ป่วยของการระบาดระลอกใหม่ สะสม 167 คน รักษาหายแล้ว 164 คน รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3 ค

วันนี้ (8 มิ.ย.2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมหารือ

แต่เหตุผลสำคัญ ปฏิเสธไม่ได้ว่า น่าจะเป็นเรื่องลดการเผชิญหน้าในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางการเมืองพลิกผัน เมื่อพรรคเพื่อไทยเพิ่งสวมบทพระเอกในการเดินหน้าหาเสียงหนุนเพิ่ม ทั้งจาก สว.โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นผู้ประสานเจรจา กับการส่งเทียบเชิญ 5 พรรคขั้วรัฐบาลเดิม มาร่วมเจรจาแบบชื่นมื่น และมี “มินต์ช็อก” ที่ THINKlab พรรคเพื่อไทย เป็นตัวช่วยสร้างสายสัมพันธ์และสีสันนเว็บ แทง ไพ่ั้น ความจริงแกนนำพรรคเพื่อไทยแจกแจงว่า ในการประชุม 8 พรรคร่วม จะนำข้อสรุปผลการเจรจากับทั้ง สว.และ สส.เรื่องหาเสียงเพิ่มเพื่อตั้งรัฐบาล แจ้งให้ที่ประชุมร่วมได้รับทราบ แต่ที่หนีไม่พ้นด้วย คือเงื่อนไขจาก 5 พรรคที่เชื้อเชิญมา ต่างไม่เอาพรรคก้าวไกล และไม่เอาเรื่องแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 เท่ากับเป็นการบีบพรรคก้าวไกลรอบที่สอง หลังจากวันหยุดเสาร์อาทิตย์ นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ระบุชัดว่า “เป็นการเล่นละครยืมปากไล่ก้าวไกล” ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พยายามอธิบายว่า เป็นเพียงแค่เชิญมาหารือ ไม่ใช่เชิญเข้าร่วมรัฐบาล แต่เพราะบรรยากาศและภาพความชื่นชื่นเช่นชนแก้วมินต์ช็อคที่ออกมา ทำให้ผู้คนทั่วไปมองข้ามช็อตไปล่วงหน้า ไม่เชื่อคำพูดเช่นเคย สภาพเช่นนี้อาจทำให้ในการประชุมร่วม 8 พรรคเกิดความอึดอัด ต้องเลื่อนออกไปก่อน เพราะแค่มองหน้ากัน ไม่รู้ว่าจะสบตา กันได้สนิทใจเหมือนเดิมหรือไม่ ประกอบกับเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งคำร้องปมมติรัฐสภาเสนอชื่อนายพิธาเป็นนายกฯ ซ้ำรอบ 2 ไม่ได้ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ทำให้สถานการณ์การเมืองดีดกลับอีกครั้ง อย่างไม่น่าเชื่อ จากเดิมพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายคุมเกม เปลี่ยนกลับไปที่ก้าวไกล เพราะมีโอกาสที่จะได้เสนอชื่อนายพิธาเป็นนายกฯ รอบ 2 หรืออาจจะอีกหลายรอบได้ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในเชิงลบต่อมติรัฐสภา ที่ทำให้รัฐธรรมนูญต้องเป็นง่อย แต่กระนั้นต้องลุ้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัยหรือไม่ ถือเป็นการก้าวล่วงอำนาจของแต่ละฝ่ายตามกฎเกณฑ์ ครรลองประชาธิปไตยหรือไม่ คือฝ่ายตุลาการ กับฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ประกอบกับนักวิชาการด้านกฎหมายบางคน เริ่มตั้งข้อสังเกตว่า หากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณา อาจนำไปสู่ปัญหาและสร้างบรรทัดฐานใหม่เมื่อต่อไป มติของรัฐสภา อาจมีคนนำไปยื่นร้องศาลให้พิจารณาตีความได้ ความจริง เรื่องขัดแย้งระหว่าง 2 อำนาจ คือนิติบัญญัติกับตุลาการ ในประเทศไทยก็เคยมีมาแล้ว โดย นายบุญส่ง ชเลธร อดีตหนึ่งใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 16 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า เคยเกิดปัญหาขัดแย้งรุนแรงกรณีเมื่อครั้งคดีโมฆะอาชญากรสงคราม กรณีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาล ประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องโทษจำคุก จะโดยข้อด้อยในเนื้อหาข้อกฎหมายหรืออย่างไรก็ตามที แต่สุดท้ายการดำเนินคดีอาชญากรสงครามครั้งนั้น ก็เป็นโมฆะ และนำไปสู่จุดเริ่มของการตั้งศาลรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา ความพลิกผันและความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองในช่วงนี้ ไม่มีอะไรที่แน่นอน แต่เชื่อว่า ต้องมีลุ้นด้วยใจระทึกอีกอย่างน้อยระยะหนึ่ง วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "ประเสริฐ" ลั่่นได้เสียงโหวตนายกฯ เพิ่มคาดฉลุย ปัดแตกคอก้าวไกล พลังสังคมใหม่ ชง 8 พรรคร่วม แก้ MOU หลัง เพื่อไทย นำจัดตั้งรัฐบาล ใครว่า “ก้าวไกล” เป็นละอ่อนการเมือง ปมมติรัฐสภาเหนือกว่า รธน.

แต่เหตุผลสำคัญ ปฏิเสธไม่ได้ว่า น่าจะเป็นเรื่องลดการเผชิญหน้าในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางการเมืองพลิกผัน เมื่อพรรคเพื่อไทยเพิ่งสวมบทพระเอกในการเดินหน้าหาเสียงหนุนเพิ่ม ทั้งจาก สว.โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรื

วันนี้ ( 20 ม.ค.2568) เว็บไซต์ "ฮั่วเซ่งเฮง" สัปดาห์ก่อนราคาทองคำผันผวน โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเน