วันนี้ (1 มิ.ย.2568) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆ
27 กรกฎาคม 2025 - 21:22
วันนี้ (28 ก.พ.2565) ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทร
27 กรกฎาคม 2025 - 21:22

बताइए बिल्ली ऊपर जा रही है या नीचे ?

วันนี้ (14 มี.ค.2567) นางสาว พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกยังคงมีความผันผวน ทั้งเศรษฐกิจโลก สงครามระหว่างประเทส ส่งผลให้ราคาโกโก้ในตลาดโลกพุ่งสูงเป็นประวัติกา

การเสียชีวิตของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อปี 1963 ก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดเป็นเวลานานหลายสิบปี การเปิดเผยเอกสารคดีกว่า 13,000 ฉบับครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการสืบสวนคดีนี้มา

กรณีลูกช้าง "พังกันยา" ช้างป่าพลัดหลงป่วยตายด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นโรคไวรัสที่มีความอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตในกลุ่มช้างอายุน้อยหรือลูกช้าง เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2567 ควาญช้าง และสัตวแพทย์โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง ทำพิธีตามความเชื่อหลังช้างพังกันยา อายุ 13 เดือน ที่ป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส หลังสัตวแพทย์ให้การรักษาด้วยการให้ยาและเลือด แต่อาการไม่ดีขึ้น และตายลงเมื่อคืนวานนี้ อ่านข่าว เฮอร์ปีส์ไวรัสพรากลูกช้างป่า "กันยา" กลับดาวช้าง หลังจากนี้ สัตวแพทย์จะผ่าพิสูจน์สาเหตุ ตามระเบียบราชการ เพราะพังกันยาเป็นช้างของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก่อนจะฝังซากภายในสุสานช้าง นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย กล่าวว่า ทีมสัตวแพทย์ พยายามให้การรักษาพังกันยา อย่างเต็มที่ แต่เชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสในตัวพังกันยาอยู่ในระดับไทด์ 4 ซึ่งมีความรุนแรง ทำให้เกล็ดเลือดลดลงรวดเร็ว ยากต่อการรักษา นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย หลังพังกันยาตาย ทางทีมงาน Patara Elephant Conservation ที่ดูแลพังกันยาใน จ.เชียงใหม่ เตรียมตรวจโรคลูกช้าง 2 ตัว ที่ใกล้ชิดพังกันยา รวมทั้งฆ่าเชื้อในคอกที่พังกันยาเคยอาศัยอยู่ นายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ นายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ด้านนายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า โรคเฮอร์ปีส์ไวรัส ถือว่ามีความรุนแรง สำ หรับช้างเด็ก โดยเชื้อนี้ติดมากับช้างทุกตัว และมักแสดงอาการในช่วงเปลี่ยนฤดู ในประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคนี้ปีละประมาณ 8 เชือก ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่มีอัตราการรักษาหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเจ้าของช้างและควาญควรดูแลช้างเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 4 ปีอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันน้อย ในประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคนี้ ปีละประมาณ 8 เชือก และยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่มีอัตราการรักษาหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเจ้าของช้างและควาญควรดูแลช้างเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 4 ปีอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันน้อย ตั้งแต่ปี 2498 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส 140 เชือก ตาย 89 เชือก และรักษาหาย 51 เชือก ขณะนี้มีบริษัทในต่างประเทศ 3 แห่ง กำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อนี้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดสอบกับช้าง อ่านข่าว อาการวิกฤต "ลูกช้างกันยา" ป่วย EEHV ให้เลือดดูแลใกล้ชิด ขณะที่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา หนึ่งในผู้ที่สนับ สนุนการดูแลพังกันยา หลังจากที่พบหลงจากแม่มาอย่างต่อเนื่อง โพสต์เฟซบุ๊ก NuNa Silpa-archa ระบุว่า เพื่อรำลึกถึงกันยาน้อย (ที่รักมาก) โดยคุยกับนายสัตวแพทย์ ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ (อ.อ.ป.) ว่า จะตั้ง "กองทุนกันยารำลึก” เพื่อสนับ สนุนให้คุณหมอทั้งหลาย ได้ทำการศึกษาวิจัยหาวิธีรับมือกับโรค EEHV ด้วยหวังว่าในอนาคตจะมีวิธีการรักษามีตัวยาที่จะช่วยชีวิตลูกช้างให้รอดชีวิตจากไวรัสร้ายนี้ได้ โดยจะเปิดบัญชีชื่อ “กองทุนกันยารำลึก” โดยจะใส่เงินให้ก่อน 1 ล้านบาท เมื่อหมอมีโครงการก็จะทำเรื่องเบิกขอใช้เงินกองทุนนี้ ส่วนที่ไม่ทำเป็นกองทุนในคชบาล เพราะระบบราชการจะไม่คล่องตัว ถ้าต่อไปเงินไม่พอก็จะเพิ่มให้อีก นอกจากนี้ เมื่อเปิดบัญชีแล้วจะบอกเลขบัญชีในเฟซบุ๊ก เผื่อว่าจะมีแม่ๆ อยากสมทบ และหากมีเงินสมทบจากท่านอื่น โดยจะแจงยอดรายรับ รายจ่ายให้ทราบทางเฟสอย่างชัดเจนสม่ำเสมอ อ่านข่าวอื่นๆ เฮอร์ปีส์ไวรัส ภัยร้ายที่คนเลี้ยงช้างต้องเฝ้าระวัง อาลัย "พิทักษ์ป่าबताइए बिल्ली ऊपर जा रही है या नीचे ?" ช็อกตายกลางป่าลึกทับลานลำเลียงศพ 5 ชม. ทช.ทดลองวางแปลงผัก 4 ชนิดให้พะยูนที่หาดราไวย์

วันนี้ (24 ก.ค.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Rungsrit Kanjanavanit ตั้งคำถามถึงการบริหารจัดการวัค

กรณีลูกช้าง "พังกันยา" ช้างป่าพลัดหลงป่วยตายด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา