วันนี้ (2 ต.ค.2565) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) แถลงข่าวจับกุมดา
วันนี้ (13 ก.ค.2566) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 56.7 จากระดับ 55.7 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที
วันนี้ (13 ก.ค.2566) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 56.7 จากระดับ 55.7 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 40 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.2563 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต อยู่ที่ 63.9 จากระดับ 63.1 ปรับเพิ่มเพียงแค่เล็กน้อยเนื่องจาก ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมือง และค่าครองชีพที่ยังทรงตัวสูง รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 13 ก.ค. จะเป็นตัวชี้วัดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากแรงกดดันทางการเมือง ซึ่งนักธุรกิจและผู้บริโภคต่างจับตาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีว่าจะไปในทิศทางใด เพราะหากไม่มีรัฐบาลหรือจัดตั้งรัฐบาลได้ล่าช้าการใช้งบประมาณของภาครัฐจะถูกเลื่อนออกไป ทำให้ภาคธุรกิจวางแผนลงทุนไม่ได้ โดยประเมินว่าหากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไป แต่ยังอยู่ในเดือน ส.ค. - ก.ย. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจคงจะไม่รุนแรง เพราะถือว่ายังอยู่ในกรอบ สามารถเดินหน้างบลงทุนต่าง ๆ จะทำให้เอกชนวางแผนลงทุนได้ต่อ แต่หากจัดตั้งรัฐบาลเลยออกไปเดือน ต.ค. การใช้งบประมาณจะถูกเลื่อนออกไปช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 จะกระทบการขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ดังนั้นประเมินว่า หากสถานการณ์การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีราบรื่น แม้จะมีการชุมนุมประท้วงแต่ไม่มีความรุนแรง เศรษฐกิจก็จะสามารถเติบโตได้ร้อยละ 3.5 แต่หากได้นายกรัฐมนตรีและเร่งจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ตามกรอบระยะเวลาและผลักดันการใช้งบประมาณ เร่งเดินหน้าลงทุน เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ร้อยละ 4 แต่กรณีหากไม่มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นอยู่กับเหตุผลของรัฐสภาว่าจะเป็นเหตุผลใด เช่น จำเป็นต้องรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการถือหุ้นสื่อของนายพิธาหรือไม่ หรือหากกรณีเลวร้ายนำไปสู่การยุบพรรคก้าวไกล ทั้งหมดจะนำไปสู่ก็ความรุนแรงการเกิดชุมนุมประท้วงว่าจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ หากไม่มีภาพความรุนแรง หรือ มีการชุมนุมในกรอบสันติวิธีก็จะไม่มีผลต่อการท่องเที่ยวจนกระเทือนมาถึงระบบเศรษฐกิจ แต่การชุมนุมประท้วงมีความรุนแรงจนเกิดความเสียหายต่อภาคการท่องเที่ยว มีโอกาสจะเห็นจำนวนนักท่องเที่ยวหายไปเดือนละ 1 ล้านช่วงที่เหลือของปีนี้ ทำรายได้ท่องเที่ยวหายไปราว 500,000 ล้านบาทซึ่งจะฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงร้อยละ 1 เกาะติดการเลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยทาง ไทยพีบีเอส หมายเลข 3 และ ทางออนไลน์ www.thaipbs.or.th/live ข่mt88bet สมัคราวที่เกี่ยวข้อง ประชุมสภา : "เพื่อไทย" เสนอ "พิธา" เป็นนายกฯ ไร้พรรคอื่นเสนอแคนดิเดตนายกฯแข่ง ประชุมสภา : หลายจังหวัดชุมนุมให้กำลังใจ-จับตา “โหวตนายกฯ คนที่ 30” ประชุมสภา : "พิธา" ย้ำมีคุณสมบัติครบถ้วนนั่งนายกฯ แก้ ม.112 ไม่อยู่ใน MOU "ชาติไทยพัฒนา" เคาะ ส.ส.10 คน งดออกเสียงโหวตนายกฯ
วันนี้ (3 มิ.ย.2564) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 1 พ.ค.2562 และเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พ.ค.2562 กรมธนารักษ์ น้อมสำนึกในพระมหากรุ