กทม.เร่งระบายน้ำวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ผู้ว่าฯ กทม.ยอมรับ กทม.มีโอกาสน้ำท่วม แต่จะเร่งระบายน้ำให้
วันนี้ (3 ส.ค.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ... ที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ โดยมีนายช
วันนี้ (25 มี.ค.2568) วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร โดยภาพรวมการอภิปรายไม่ไว้วางในวันแรก (24 มี.ค.) มีการอภิปรายในหลายประเด็น เช่น กรณีของคำว่า "กี้กี้" ที่เริ่มตั้งแต่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน และเป็นคำที่ถูกพูดถึงตลอดทั้งวัน จนทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในสภาเมื่อกลางดึกระหว่างตอบโต้ประเด็นผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์โดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีบางช่วงที่สวนกลับฝ่ายค้านว่า จะพยายามอย่างดีที่สุด เพราะตนเองก็ไม่เคยใช้คำว่า "กี้กี้" แทนสตรี อย่างที่ฝ่ายค้านได้พูด ซึ่งเป็นคำที่หยาบคายหยาบโลน สกปรก จนทำให้มีการประท้วง โต้ตอบกันไปมา ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน อ่านข่าว : ประท้วงวุ่น! ภูมิธรรมท้าเปิดกูเกิล "กี้กี้" ภราดรตัดจบ "ทุกคนนั่งลง" โดย นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ประธานในประชุมขณะนั้น ได้สั่งด้วยเสียงเข้มให้ทุกคนนั่งลงถึง 4 ครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล ก่อนที่ประธานยืนขึ้นบนบัลลังก์ เพื่อให้ที่ประชุมอยู่ในความเรียบร้อย อ่านข่าว : รู้จัก "ภราดร ปริศนานันทกุล" ลุกห้ามเหตุประท้วงป่วน กลางศึกซักฟอก "นายกฯ" ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ในข้อ 77 กำหนดว่า "ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้ที่กำลังพูด หยุดพูดและนั่งลงทันที" ซึ่งการยืนขึ้นของประธานสภา เป็นการให้สัญญาณของประธานในที่ประชุม ในการควบคุมการประชุมและเป็นวิธีการควบคุมการประชุม การยืนขึ้นจะมีผลทำให้ผู้ที่อภิปรายต้องหยุดพูดและนั่งลงทันที นอกจากการยืนขึ้นแล้วยังมีการเคาะค้อน ที่มีความหมายเดียวกัน ตามเว็บไซต์รัฐสภา ได้ให้ความหมาย"เคาะค้อน" หมายถึงการให้สัญญาณในการควบคุมการประชุมของประธานสภาโดยการนำค้อนประธานที่อยู่บนบัลลังก์เคาะ และเป็นวิธีการควบคุมการประชุมของประธานในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา แล้วแต่กรณี การเคาะค้อนจะมีผลทำให้ผู้ที่อภิปรายต้องหยุดพูดและนั่งลงทันที ค้อนประธาน ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ คือ gavel เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของประธานในที่ประชุมสภา รูปร่างค้อนมักมีขนาดเล็ก ทำจากไม้เนื้อแข็งและติดอยู่กับด้ามจับ สำหรับใช้เคาะบนที่วาง (block) เพื่อก่อให้เกิดเสียง ถือเป็นสัญลักษณ์แทนการใช้อำนาจในการเคาะเตือนหรือออกคำสั่งของประธานสภา โดยในอดีตประธานสภาจะเคาะค้อนเพื่อเป็นสัญญาณในการเปิดและปิดการประชุม การเลื่อนประชุม การลงมติอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจึงประกาศรับรองอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงการควบคุมการประชุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย เมื่อเกิดการชุลมุนวุ่นวายในการอภิปราย หรือมีการฝ่าฝืนคำสั่งของประธานสภา การเคาะค้อนในประเด็นดังกล่าว มีผลเท่ากับการยืนขึ้นของประธาน ดังนั้น เมื่อประธานยืนขึ้นก็ย่อมหมายความว่า สมาชิกทุกคนที่อยู่ในห้องประชุมต้องนั่งลง และผู้ที่กำลังพูดหรืออภิปรายอยู่ในขณะที่ประธานเคาะค้อนจะต้องหยุดพูด แล้วนั่งลงทันที ปัจจุบันมีการนำสัญญาณเสียงมาใช้ในที่ประชุมสภา การใช้ค้อนของประธานจึงกำหนดไว้เพียงควบคุมการประชุม ดังนั้น การรักษาระเบียบในที่ประชุมสภา โดยประธานใช้วิธีการเคาะค้อนนั้น ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า gavel rule การเคาะค้อนนี้ มีกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภามาโดยตลอด รวมถึงข้อบังคับการประชุมสภาในฉบับปัจจุบันทั้ง 3 ฉบับ คือ สำหรับการยืนบนบัลลังก์ หรือ เคาะค้อน เคยเกิดขึ้นในสมัย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2554 - 2556 ได้มีการเคาะค้โปร ฝาก 100 รับ 100 ถอน ไม่ อั้นรับ เครดิต ฟรี 918kissอนเพื่อยุติความวุ่นวายในสภา อ่านข่าว : เหลืออีกกี่ชั่วโมง ศึกซักฟอก "แพทองธาร" "ณัฐพงษ์" มองซักฟอกวันแรก "นายกฯ" แจงไม่เคลียร์ ปมโรงแรมเขาใหญ่ วันแรก ซักฟอก "นายกฯ" ข้ามคืน ฝ่ายค้านเปิดหลายประเด็น
วันนี้ (25 มี.ค.2568) วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร โดยภาพรวมการอภิปรายไม่ไว้วางในวันแรก (24 มี.ค.) มีการอภิปรายในหลายประเด็น เช่น กรณีของคำว่า "กี้กี้" ที่เริ่มตั้ง