bozz777 -Ratusan Rumah Warga Rusak

วันนี้ (30 ส.ค.2566) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประ
และแล้วการเสียชีวิตของอดีตผู้กำกับโจ้ "พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล" ภายในแดน 5 เรือนจำกลางคลองเปรม เมื่อ
และแล้วการเสียชีวิตของอดีตผู้กำกับโจ้ "พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล" ภายในแดน 5 เรือนจำกลางคลองเปรม เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2568 ที่ผ่านมา ก็จางหายไป แม้ทางครอบครัวจะยังไม่ประกอบพิธีฌาปนกิจจนกว่าความจริงจะปรากฏ แต่ข้อเท็จจริงเบื้องต้นยังไม่พบประเด็นถูกคนอื่นทำให้ตาย ถือเป็นการเสียชีวิตแบบผิดธรรมชาติ และคงต้องรอผลการพิสูจน์ต่อไป ข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2568 ระบุว่า ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศ มีผู้ต้องขังจำนวน 288 ,098 คน แต่สถิติการเสียของผู้ต้องขัง เฉพาะปีงบประมาณ 2563-2568 (ข้อมูลวันที่ 12 มี.ค.68) มี 4,937 ราย ส่วนใหญ่เป็นการตายจากการเจ็บป่วย 4,770 ราย จำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ มี 167 ราย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ระบุว่า การตายมี 2 ประเภท คือ 1.ตายโดยธรรมชาติ คือ ป่วยเสียชีวิต และ 2.ตายโดยผิดธรรมชาติ ตามมาตรา 148 คือ การฆ่าตัวตาย, ถูกผู้อื่นทำให้ตาย , ถูกสัตว์ทำร้ายตาย , ตายโดยอุบัติเหตุ และตายโดยยังไม่ปรากฏเหตุ ความลับในโลกหลังกำแพงที่เกิดขึ้นกับผู้ต้องขัง ซึ่งต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ มีหลากหลายแง่มุม ยากที่คนภายนอกจะล่วงรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิทธิพลพ่อบ้าน กลุ่มบ้าน หรือ "สมเด็จ" ในคุก กฎระเบียบ ที่มีความพยายามจะฝ่าฝืน รวมทั้งระดับชนชั้นของนักโทษ ซึ่งยากปฏิเสธได้ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แม้กระทั่งความตายในเรือนจำ ที่กลายเป็นเรือนตายของผู้ต้องหา ก็ยังยากจะคลี่คลายให้กระจ่าง เพลงสมเด็จ ที่แต่งเนื้อร้องและทำนอง โดย Rishadan Port มีหลายท่อน ได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในเรือนจำได้ดี "มีเงิน ร่ำรวย ซื้ออะไรก็ย่อมได้ ไม่ว่าอะไรก็ซื้อได้ สั่งอะไรได้ดั่งใจ อภิสิทธิ์เขาเหนือกว่าใคร ๆ คนแบบนี้ เขาเรียกว่า สมเด็จ ไหนใครบอกว่าคนเท่ากัน แม้แต่ในคุกก็ยังมีชนชั้น ไม่มีหรอกความยุติธรรม" ในวันเดียวกับที่อดีตผู้กำกับโจ้เสียชีวิต กรมราชทัณฑ์ ออกเอกสารชี้แจงเรื่อง "ขบวนการหากินกับคุก" สร้างความไม่เท่าเทียมในเรือนจำ และตัวละครที่ใช้ชื่อว่า "สมเด็จในกรมราชทัณฑ์และเรือนจำ" ซึ่งอ้างว่า เป็นผู้ให้สิทธิพิเศษกับผู้ต้องขังรายอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะประเด็น ผู้ต้องขังเข้าใหม่ได้รับอภิสิทธิ์ฝากและใช้เงินในเรือนจำได้เกินกว่าเดือนละ 9,000 บาท ด้วยการโอนเงินตอบแทนผ่านบัญชีเพื่อเป็นค่าดำเนินการให้กับเจ้าพนักงานเรือนจำว่า การรับ จ่ายเงินฝากของผู้ต้องขังในเรือนจำ พ.ศ. 2563 กำหนดให้ผู้ต้องขังมีเงินฝากในบัญชีได้ไม่เกินคนละ 15,000 บาท โดยเงินฝากดังกล่าวเป็นเงินที่ญาติ ฝากไว้ให้กับผู้ต้องขังbozz777แต่ละราย เพื่อไว้ซื้อสินค้าจากร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังในเรือนจำ แต่เงินรางวัลที่ผู้ต้องขังได้รับจากการทำงานในเรือนจำ หรือการฝึกวิชาชีพ เรือนจำจะรับฝากเงินไว้ให้ในบัญชีของผู้ต้องขัง ซึ่งอาจทำให้ยอดเงินฝากเกินกว่า 15,000 บาท โดยเงินฝากดังกล่าวเมื่อผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัว จะมาถอนเงินในบัญชีจากเรือนจำไป เพื่อนำไปประกอบอาชีพ เลี้ยงดูครอบครัวภายหลังพ้นโทษ โดยกำหนดให้ผู้ต้องขังสามารถถอนเงินฝากเพื่อใช้จ่ายประจำวัน ในเรือนจำได้วันละไม่เกิน 500 บาท หากจะถอนเงินฝากเกินกว่าวันละ 500 บาท ต้องขออนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ ส่วนประเด็น "สมเด็จ" จัดให้มีการเล่นการพนันโดยใช้กล่องนมหรือกาแฟชนิดซองแทนอุปกรณ์เล่นการพนันหรือแทนเงินสด อีกทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ หรือกรณีหากผู้ต้องขังไม่ต้องการย้ายเรือนจำ หรือผู้ต้องขังซึ่งไม่ได้ป่วยจริงสามารถออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำได้ โดยสมเด็จเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เป็นความจริง และไม่มีสมเด็จในเรือนจำ "มีการสลายกลุ่มบ้านที่สร้างอิทธิพล มีการตรวจค้นจู่โจมสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง กรณีการย้ายผู้ต้องขัง มีคณะทำงานจำแนกลักษณะผู้ต้องขังประจำเรือนจำเป็นผู้พิจารณาโดยคำนึงถึงพฤติการณ์ผู้ต้องขัง เหตุผลความจำเป็นในการย้ายอย่างละเอียดรอบคอบ ...สำหรับกรณีการส่งตัวผู้ต้องขังออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ผู้ต้องขังต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์จึงจะสามารถส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลภายนอกได้" เอกสารกรมราชทัณฑ์ระบุ แม้การเสียชีวิตของผู้ต้องขังระหว่างรับโทษในเรือนจำ จะมีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติชัดเจนตั้งแต่การแจ้งเหตุ การชันสูตรพลิกศพ การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ต้องขัง การถ่ายรูปศพ การพิมพ์ลายนิ้วมือ และที่สำคัญคือ "การสอบสวนหาข้อเท็จจริง" ทุกครั้งเมื่อมีการตายโดยผิดธรรมชาติ โดยกรมราชทัณฑ์จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทันทีก็ตาม เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังที่เสียชีวิต การย่างเท้าเข้าสู่เรือนจำ เรือนนอน หรือนอนห้องอยู่ไหน ทำอยู่กองงานใด รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ตายก่อนเกิดเหตุและวันเกิดเหตุ พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ ผู้พบเหตุการณ์หรือพบศพ ผู้ต้องขังที่นอนใกล้กัน กินข้าวหรือทำงานร่วมกัน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการควบคุมตัวขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ หัวหน้าฝ่ายหรือพัศดีเวร กรณีพบว่า เหตุการณ์มีวัสดุอุปกรณ์เข้าไปเกี่ยวข้อง จะต้องสอบสวนหาที่มา-ที่ไป ให้ได้ว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบ โรงพยาบาล ใบมรณบัตร และสำนวนการสอบพยานบุคคลและเอกสารทั้งหมด เพื่อป้องกันความผิดพลาดแจ้งการตายผิดตัว โดยมีการกำหนดให้รายงานผลสอบข้อเท็จจริงแก่กรมราชทัณฑ์ทราบใน 60 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ หากญาติยังติดใจสาเหตุการเสียชีวิต ดังกรณีของอดีตผู้กำกับโจ้ "พ.ต.อ.ธิติสรรค์" เช่นเดียวกัน "คนในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องขัง หรือผู้คุม ต่างทราบกันดีว่า หากจะกดดันให้ใครอยู่ไม่ได้ ต้องใช้วิธีการอย่างไร ของอย่างนี้ไม่มีใครเขามาเปิดเผย แต่มันมีวิธีการ ดังนั้นการจะอยู่รอด มีเงินอย่างเดียวไม่พอ ต้องสงบเสงี่ยม โดยเฉพาะอดีตตำรวจที่ต้องกลายเป็นผู้ต้องขัง พวกนี้มีโจทก์เยอะอยู่แล้ว จึงควรต้องอยู่ให้เป็น” อดีตข้าราชการเกษียณ กรมราชทัณฑ์ ให้ข้อมูลสั้น ๆ ในประเด็นที่เกิดขึ้นกับอดีตผู้กำกับโจ้ จากรายงานสถิติการฆ่าตัวตายของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค. 2565 – ก.ย. 2566) พบ คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร สถิติปี 2567 มีคนไทยฆ่าตัวตาย 7.9 คนต่อประชากร 1 แสนคน มีผู้ต้องขังฆ่าตัวตาย 3.4 คน ต่อประชากรผู้ต้องขัง 1 แสนคน และมีผู้คุมฆ่าตัวตาย 43 คน ต่อประชากรผู้คุม 1 แสนคน การอยู่ในเรือนจำ แม้จะทุกข์ แต่ยังมีวันพ้นโทษกลับไปใช้ชีวิตภายนอก หากนักโทษ หรือผู้ต้องขังคนใดยังสามารถรักษาชีวิต และทนแรงกดดันได้ ทางรอดยังมีเสมอ อดีตข้าราชการเกษียณที่เคยคลุกคลีกับงานด้านราชทัณฑ์ ให้ข้อมูลว่า มีช่องว่างของระเบียบปฏิบัติที่นำไปสู่ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้สิทธิพักโทษ ลดโทษ ลดวันต้องโทษ รวมถึงการได้รับอภัยโทษว่า ทำได้โดยการเขียนประวัติรายงานพฤติการณ์ของผู้กระทำความผิด โดยจะรายงานในคดีที่เบาที่สุด เช่น ผู้ต้องหารายหนึ่งถูกฟ้องในคดีปล้นฆ่า ข่มขืน ชิงปล้น แต่ผู้มีอำนาจในเรือนจำ สามารถเขียนรายงานพฤติการณ์ที่เบาที่สุด โดยอาจจะมีการตกลงกันตั้งแต่ก่อนและหลังถูกดำเนินคดี ไปจนถึงส่งตัวเข้าเรือนจำว่าจะต้องอยู่กรอบระเบียบปฏิบัติให้เป็นนักโทษชั้นดี ให้ได้ขยับลำดับชั้นไปจนถึงนักโทษชั้นเยี่ยม เพื่อให้เข้าเกณฑ์ได้รับการปรับชั้นนักโทษ "หลังจากปรับชั้นนักโทษแล้ว จะทำให้โทษเหลือน้อยลง ได้ลดจำนวนปีการคุมขัง เพื่อข้ามชั้นให้สามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องขอรับการลงโทษ เพื่อให้ถูกจำคุกสั้นที่สุด และออกจากเรือนจำได้เร็วที่สุด โดยจะมีวิธีการคำนวณว่า ศาลสั่งจำคุกเบื้องต้น แล้วถ้าได้รับโทษ 2 ใน 3 แล้วจะติดจริงเท่าไหร่ จากนั้นจึงค่อยขยับชั้นเข้ามา ขณะผู้ต้องขังที่ไม่มีเส้นสายก็จะได้รับโทษ การพักโทษ ลดวันต้องโทษ ปกติ ตามวงรอบ" แหล่งข่าวคนเดิมระบุ สำหรับรายชื่อผู้ต้องขังที่ถูกเสนอให้ได้อภัยโทษ อาจจะใช้วิธีการสอดไส้รายชื่อเข้าไปในรายงานเพื่อเสนอต่อไปยังคณะ กรรมการพิจารณาพักการลงโทษของเรือนจำให้เสนอรายชื่อขึ้นไปให้ต่อไปที่ส่วนกลาง โดยคณะกรรมการฯ จะไม่ทราบถึงประวัติของผู้ต้องขังนั้น ๆ เนื่องจากจะพิจารณาไปตามเอกสารที่ได้รับมา นี่คือ บางส่วนของเศษเสี้ยวเล็ก ๆ จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเรือนจำ "แดนสนธยา" โลกหลังกำแพงที่มืดดำไปด้วยความลับ แต่ยังมีทางรอดที่กฎหมายเปิดช่องว่างให้ผู้มีอำนาจไว้ (แอบ) ใช้เสมอ อ่านข่าว : อนุฯ ชะลอพิจารณาผลอดีต ผกก.โจ้ เสียชีวิต รอผลชันสูตรฉบับเต็ม แฟนสาวโต้ปมทะเลาะอดีต ผกก.โจ้ แค่ตะโกนคุยเรื่องแจ้งความผู้คุม รอง ผบก.น.2 เผยผลจำลองเหตุอดีต ผกก.โจ้ เชื่อจบชีวิตด้วยตัวเอง
วันนี้ (6 ต.ค.2566) นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุน ได้ให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษากู้เงินจาก กยศ.ทั่วประเทศจำนวน 6.5 ล้านคน เป็นเงินให