เตือนระวังสถานการณ์ "อินเดีย-ปากีสถาน" ของดเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง

วันนี้ (25 มี.ค.2565) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับ พ.ต.อ.ณัฏฐ์ โหม่งพุฒ ผกก.สส.ภจว.ขอนแก่น, พ.ต.อ.กิตติพงษ์ จิตรคาม ผกก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงา

วันนี้ (11 พ.ค.2567) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) โพสต์เฟซบุ๊กsolarbet 888ระบุว่า องค์การบริห

วันนี้ (4 มิ.ย.2568) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่รัฐบาลยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากการที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำกกว่า ตนได้พูดคุยกับผู้ที

วันนี้ (11 พ.ค.2567) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) โพสต์เฟซบุ๊กsolarbet 888ระบุว่า องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐที่ทำหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังพายุสุริยะ ได้รายงานการค้นพบพายุสุริยะระดับ G5 ซึ่งเป็นพายุสุริยะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี กำลังจะมาเยือนโลกในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เบื้องต้นเตือนถึงผลกระทบที่อาจจะส่งผลต่อดาวเทียม และกริดไฟฟ้าในประเทศแถบขั้วโลก แต่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์แต่อย่างใด ผู้สังเกตในแถบละติจูดสูงเตรียมพบกับแสงออโรราได้ตลอดสุดสัปดาห์นี้ ข้อมูลระบุว่า ในวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมาได้แจ้งเตือนถึงการตรวจพบพายุสุริยะที่มีความรุนแรงระดับ G4 ต่อมาได้ยกระดับพายุขึ้นเป็นระดับ G5 ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงของพายุสุริยะที่สูงที่สุด พายุสุริยะเกิดขึ้นจากการปลดปล่อยมวลจากดวงอาทิตย์ มวลจากดวงอาทิตย์เหล่านี้เกิดขึ้นจากอนุภาคมีประจุ ซึ่งเมื่ออนุภาคมีประจุเหล่านี้เกิดการเคลื่อนที่ อาจจะส่งผลรบกวน และเบี่ยงเบนสนามแม่เหล็กของโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกเกิดการรบกวน จะทำให้อนุภาคบางส่วนสามารถเข้ามายังชั้นบรรยากาศด้านบนของโลกได้ เกิดเป็นแสงเหนือ-แสงใต้ ที่เราเรียกกันว่า "แสงออโรรา" สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ระบุอีกว่า การวัดระดับความรุนแรงของพายุสุริยะ สามารถวัดกันได้หลายวิธี ตั้งแต่ Kp index ไปจนถึง G-scale ซึ่งเป็นการใช้วัดระดับพายุสุริยะที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก ตั้งแต่ G1 จนถึง G5 พายุที่กำลังมาถึงโลกในช่วงสุดสัปดาห์นี้ จัดเป็นพายุในระดับ G5 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด เทียบเท่ากับ Kp9 โดยครั้งสุดท้ายที่มีการแจ้งเตือนพายุสุริยะในระดับ G5 นั้นเกิดขึ้นในช่วงวันฮาโลวีนของปี 2003 ทำให้เป็นพายุสุริยะที่มีระดับรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี โดยปกติแล้ว การปลดปล่อยมวลสุริยะของดวงอาทิตย์นั้น มักจะเกิดขึ้นจากบริเวณผิวของดวงอาทิตย์ที่มีสนามแม่เหล็กแปรปรวน เป็นเหตุให้พลาสมาจากดวงอาทิตย์สามารถหลุดและปลดปล่อยออกมาได้จากบนโลก เราสามารถสังเกตเห็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กแปรปรวนนี้ ในรูปของจุดดับบนดวงอาทิตย์ ซึ่งในช่วงปีนี้นั้นสอดคล้องกับช่วง solar maximum ในวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์ ที่จะสามารถพบจุดดับได้บ่อยที่สุดพอดี ปรากฏการณ์พายุสุริยะนี้จึงเป็นพฤติกรรมปกติของดวงอาทิตย์ที่สามารถพบเห็นได้ และอาจจะมีพายุสุริยะอื่นๆ ตามมาอีกในช่วง solar maximum ที่กำลังอยู่นี้ เมื่อพายุสุริยะมาถึงโลก อนุภาคที่มีประจุนี้ส่วนมากจะถูกเบี่ยงเบนออกไปโดยสนามแม่เหล็กของโลก ที่คอยปกป้องโลกเอาไว้ มีเพียงส่วนน้อยที่สามารถเลี้ยวไปตามเส้นแรงแม่เหล็กโลกกระทบเข้ากับชั้นบนของบรรยากาศเกิดเป็นแสงออโรรา ในกรณีที่มีการปลดปล่อยมวลเป็นจำนวนมาก เช่นในพายุสุริยะ ที่มีความรุนแรง พลาสมาในมวลสุริยะนั้น อาจจะมีอันตรายกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้สนามแม่เหล็กของโลกเบี่ยงเบนไป จึงอาจทำให้อนุภาคสามารถกระทบกับชั้นบรรยากาศเกิดเป็นแสงออโรราในพื้นที่ละติจูดที่ต่ำกว่าปรกติได้ จึงอาจทำให้เกิดแสงออโรราเป็นวงที่กว้างกว่าปกติ แต่ความสูงของบริเวณที่เกิดออโรรานั้นก็ยังนับเป็นความสูงที่สูงกว่าที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นอย่างมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พายุสุริยะอาจจะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อาจจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า เช่น ดาวเทียมสื่อสารที่โคจรอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลก และในบางครั้งอาจจะส่งผลกระทบต่อกริดจ่ายไฟฟ้าภาคพื้นโลก ทั้งนี้ โดยปกติแล้วดาวเทียมสื่อสาร จะมีมาตรการการป้องกันพายุสุริยะ เช่น การหันทิศทางหรือปิดอุปกรณ์ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเสียหาย จึงสามารถลดการรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบสื่อสารได้เป็นอย่างมากและปัจจุบันระบบไฟฟ้านั้นก็มีมาตรการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบละติจูดสูงอาจจะสามารถสังเกตการณ์แสงออโรร่าได้ตลอดช่วงสุดสัปดาห์นี้ ข้อมูลจากการเรียบเรียงของ ดร.มติพล ตั้งมติธรรม -นักวิชาการ สดร.อ้างอิง:https://www.swpc.noaa.gov/.../geomagnetic-storming-likely... https://www.swpc.noaa.gov/news/g5-conditions-observed อ่านข่าวอื่นๆ "อ.อ๊อด" เผยผลตรวจ "ข้าว 10 ปี" - 13 พ.ค.ส่งแล็บพิสูจน์ ตร.อายัดศพ "พนักงาน" มาบตาพุดแทงค์ชันสูตรรอบใหม่

รศ.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโอกาสการลงทุนของคนไทยในเมียนมาว่า ขณะนี้นักธุรกิจไทยเริ่มกลับเข้าไปที่ย่างกุ้งบ้างแล้ว แม้สถานการณ์ภายในจะยังมีบังเกอร์และร