วันนี้(10 ต.ค.2566) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ
วันนี้ (6 พ.ย.2564) ตำรวจ และฝ่ายปกครองเข้าตรวจสอบกลุ่มแรงงานชาวเมียนมา 23 คน บริเวณสวนยาง ริมทางเขตบ้านหนองนกกระทา ต.นาบ่อคำ อ.เมืองกำแพงเพชร หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีผู้นำแรงงานข้ามชาติมาทิ้งไว้
วันนี้ (6 พ.ย.2564) ตำรวจ และฝ่ายปกครองเข้าตรวจสอบกลุ่มแรงงานชาวเมียนมา 23 คน บริเวณสวนยาง ริมทางเขตบ้านหนองนกกระทา ต.นาบ่อคำ อ.เมืองกำแพงเพชร หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีผู้นำแรงงานข้ามชาติมาทิ้งไว้และมีผู้เสียชีวิต จากการตรวจสอบพบผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บ 4 คน เจ้าหน้าที่เร่งนำส่งโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป และเตรียมนำร่างผู้เสียชีวิตไปชันสูตรเพื่อพิสูจน์ทราบตัวบุคคล นอกจากนี้ ได้นำชาวเมียนมา 16 คน ไปดำเนินการคัดกรองตามขั้นตอนป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งผลการตรวจคัดกรองด้วยชุด ATK ผลเป็นลบทั้งหมด แต่ยังต้องรอผลการตรวจยืนยันอีกครั้ง ในวันพรุ่งนี้ (7 พ.ย.) หนึ่งในแรงงานอ้างว่า ชาวเมียนมาทั้งหมด 23 คน จ่ายเงินคนละ 7,000-23,000 บาท ให้นายหน้านำพาข้ามแดนจาก จ.เมียวดี เข้ามาในประเทศไทยทางด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก โดยพักอยู่ที่โกดังแห่งหนึ่ง 7 วัน ก่อนจะมีรถกระบะมารับตัว เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) เวลาประมาณ 19.00 น. เพื่อเดินทางเข้าสู่พื้นที่ชั้นใน แต่ระหว่างทาง ช่วง 22.00 น. ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ บริเวณทางลงเขา ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นพื้นที่ใด จากนั้นก็ถูกพาทิ้งไว้ริมทาง กระทั่งมีชาวบ้านมาพบ และแจ้งเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าวไทหวย หุ้น ห้อง สิบ เด้งยพีบีเอส พยายามตรวจสอบไปยังตำรวจในพื้นที่ จ.ตาก แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีรถกระบะประสบอุบัติเหตุในพื้นที่ ขณะที่ พ.ต.อ.ลิขิตพงษ์ ศรีนาราง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าว ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางสายตาก-แม่สอด ในเขตความรับผิดชอบแล้ว แต่ไม่พบว่ามีอุบัติเหตุรถกระบะพลิกคว่ำแต่อย่างใด กองกำลังป้องกันชายแดน และฝ่ายความมั่นคง เฝ้าระวังพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนใน เพื่อสกัดกั้นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. สรุปตัวเลขการจับกุมแรงงานผิดกฎหมายในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวม 3,160 คน แยกเป็นแรงงานชาวเมียนมามากที่สุด 1,807 คน กัมพูชา 996 คน อินเดีย 24 คน จีน 11 คน ไทย 10 คน และลาว 5 คน แรงงานกลุ่มนี้ไม่มีหนังสือเดินทาง และไม่ผ่านขั้นตอนคัดกรองปกติ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงแพร่โรคโควิด-19 พร้อมขยายผลจับกุมขบวนการนำพาชาวไทยได้ 28 คน และเมียนมาอีก 63 คน โดย กอ.รมน.พบว่าการจับกุมแรงงานลักลอบเข้าไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น จากปัจจัยความต้องการแรงงานในประเทศ ขณะที่ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมว.กลาโหม ได้ประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) พร้อมกำชับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ให้ทุกเหล่าทัพ สกัดกั้นแรงงานผิดกฏหมายทั้งระบบ พร้อมขยายผลไปถึงนายทุน นายจ้าง และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี อ่านข่าวเพิ่มเติม "ตลาดนัดจตุจักร" พร้อมรองรับเปิดประเทศ สกัดจับรถจักรยานยนต์ ทริป “น้ำไม่อาบ” มุ่งภูทับเบิกนับพันคัน "จุรินทร์" ขอบคุณโพลล์ชูนั่งนายกฯ มองเป็นเรื่องปกติทางการเมือง ปมร้อน #คลับเฮ้าส์toxic แนะสอนลูกเรียนรู้ความแตกต่าง-ไม่เหยียด "ไฟเซอร์" พัฒนายาต้านโควิด ลดเสี่ยงป่วยหนัก-เสียชีวิต 89%
วันนี้ (4 ม.ค.2565) กรมการแพทย์ เปิดเผยแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลรองรับการระบาด COVID-19 (Omicron) โดยมีรายละเอียดว่า เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ทันเวลา ลดกา